สิ่งนี้เรียกว่า “เพชรสังเคราะห์” หรือ Lab-Grown Diamond
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน เราจึงขอจำแนกเพชรเป็น 3 ประเภทหลักๆดังนี้
- เพชรธรรมชาติ หรือเพชรแท้ (Natural Diamond)
- เพชรสังเคราะห์ (CZ, Moissanite)
- เพชรแล็บ (CVD, HPHT)
แล้วทำไม เพชรสังเคราะห์ ถึงกำลังได้รับความนิยม แม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าเพชรปลอมทั่ว ๆ ไป ?
เพชรสังเคราะห์ ที่กำลังพูดถึง คือ เพชรที่มีคุณสมบัติทางเคมี และหน้าตาเหมือนเพชรแท้ที่เกิดจากธรรมชาติทุกประการ จนแทบแยกไม่ออกด้วยตาเปล่า
เพียงแต่มันถูกสร้างขึ้นภายใน “ห้องแล็บ”
โดยเพชรสังเคราะห์เม็ดแรกเกิดขึ้นจาก การทดลองในห้องแล็บของบริษัท General Electric
ในนิวยอร์ก ช่วงปี 1954 หรือเมื่อ 68 ปีที่แล้ว
เพชรธรรมชาติ” ต้นกำเนิดจากธรรมชาติที่แท้จริง✨💎
เพชรธรรมชาติ เกิดขึ้นจากการก่อตัวขึ้นเมื่อหลายล้านปีก่อนลึกลงไปใต้เปลือกโลก
ภายใต้ผื้นผิวโลกที่มีความร้อนและความดันที่สูงมาก ซึ่งทําให้อะตอมของคาร์บอนตกผลึก
กลายเป็นเพชรในระดับความลึกประมาณ 150-200 กม. ใต้พื้นผิวโลก ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ย 900-1,300°C
และแรงดันอยู่ที่ 45-60 กิโลบาร์ (ซึ่งประมาณ 50,000 เท่าของความดันบรรยากาศที่พื้นผิวโลก)
เพชรสังเคราะห์ vs. เพชรแล็บ CVD HPHT ต่างกันอย่างไร
เพชรสังเคราะห์ เพชร CZ (Cubic Zirconia) หรือที่เรารู้จักกันในนาม เพชรรัสเซีย หรือเพชรสวิส
เดิมทีได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อใช้ทดแทนสำหรับเพชรธรรมชาติ
เพื่อใส่บนเครื่องประดับเงินหรือแนวแฟชั่นที่เพราะมีราคาถูก
ส่วนใหญ่จะใช้กับเครื่องประดับในงบหลักร้อยถึงหลักพัน
เพราะมีคุณสมบัติที่มองเห็นด้วยตาเปล่าคล้ายกับเพชรธรรมชาติทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
เพชร CZ ในยุคแรกถูกนำมาหลอกขายให้กับผู้ซื้อมากมายในราคาสูงเหมือนเพชรแท้
ซึ่งก็มีผู้เคราะห์ร้ายจำนวนมากมายที่หลงเชื่อ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็มีผู้ที่รู้เรื่องนี้มากขึ้น
เนื่องจากเพชร CZ นั้นสามารถแยกแยกได้ด้วยตาเปล่าไม่ยากหากเป็นผู้เชี่ยวชาญ
เพชรแล็บ (HPHT, CVD)
เพชร Lab-Grown เป็นการพัฒนาอีกขั้นของนวัตกรรม เพชร Lab-Grown
เกิดจากการตกผลึกของธาตุคาร์บอนในห้องทดลอง
ที่ถูกควบคุมให้อยู่ภายใต้สภาวะที่คล้ายคลึงกันกับการเกิดของเพชรธรรมชาติ
โดยที่เพชร Lab-Grown นั้นสามารถเพาะขึ้นได้จาก 2 วิธีด้วยกัน ดังนี้
- เพชร HPHT (High-Pressure High Temperature)
เพชร HPHT เป็นวิธีการในยุคแรกๆของการผลิตเพชร Lab-Grown โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950s
นอกเหนือจากผลิตเพชรแล้วกระบวนการผลิตเพชร HPHT
ยังสามารถใช้เพื่อปรับแต่งความสะอาดและสีเพชรของเพชรธรรมชาติให้น้ำสูงขึ้น หรือมีสีสันต่างๆ
เช่น ชมพู เขียว น้ําเงิน หรือเหลือง เป็นต้น
วิธีการสร้างเพชร HPHT คือการนำเมล็ดเพชรขนาดเล็กจะถูกวางลงในคาร์บอน
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเพาะเพชร
เมล็ดเพชรสัมผัสกับความร้อนและแรงกดสูง โดยจําลองวิธีที่เพชรเติบโตตามธรรมชาติ
ใต้พื้นผิวโลก เมื่อสัมผัสกับความร้อนสูงถึง 1,500°C
และแรงดันที่สูงมาก คาร์บอนจะละลายและก่อตัวเป็นเพชรรอบเมล็ด เมื่อก้อนเพชรเย็นลงก็จะกลายเป็นเพชรคาร์บอนบริสุทธิ์ ในรูปทรง 14 เหลี่ยม (cuboctahedron)
- เพชร CVD (Chemical Vapor Deposition)
เพชร CVD ได้รับการคิดค้นขึ้นในห้องแล็บในปี ค.ศ.1980s ซึ่งถือว่าเป็นวิวัฒนาการที่ใหม่กว่า HPHT
เพราะใช้แรงดันน้อยกว่าและเครื่องจักรที่เล็กกว่าในการผลิต ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ถูกลงมาก
วิธีการสร้างเพชรแบบ CVD คือการนำเมล็ดเพชรใส่ในห้องระบบปิดที่มีความร้อนสูงถึง 800°C
อัดก๊าซที่มีคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป จนแตกตัวเป็นไอออน
ส่งผลให้คาร์บอนบริสุทธิ์ลอยไปเกาะตัวกับเมล็ด และค่อยๆตกผลึกกลายเป็นเพชรในรูปทรงลูกบาศก์
เทียบข้อดี-ข้อด้อย เพชรธรรมชาติ vs. เพชร Lab-grown
ข้อดีของเพชรธรรมชาติ
- มูลค่าของเพชรธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ยิ่งเพชรมีความสวยในเรื่องของขนาดน้ำ ความสะอาด และการเจียระไนดีเท่าไหร่ก็จะยิ่งหายากมากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งเป็นผลดีต่อราคาในอนาคตด้วย จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่สนใจเรื่อง Passion Investment
- เพชรธรรมชาติมีประวัติที่ยาวนาน สวมใส่กันโดยผู้นำและผู้มีบารมีตั้งแต่เมื่อหลายพันปี
รวมถึงมีการซื้อขายมานานหลายร้อยปี จึงมีตลาดที่กว้างขวาง ราคามีมาตรฐานและเสถียรภาพ
เป็นที่ยอมรับโดยผู้คนส่วนใหญ่
- ผู้คนให้การยอมรับและยังมีคุณค่าทางจิตใจสำหรับผู้รับ เนื่องจากเพชรแท้ธรรมชาติจะยิ่งหายากขึ้นเรื่อยๆ
ข้อด้อยของเพชรธรรมชาติ
เมื่อคุณมีความตั้งใจว่าจะลงทุนซื้อเพชรธรรมชาติ จำเป็นต้องไว้ใจเลือกร้านที่น่าเชื่อถือ
เนื่องจากในยุคหลังนี้ มีข่าวเกิดขึ้นมากมายว่ามีผู้ขายบางรายนำเพชรแล็บมาจำหน่าย
ในราคาไม่แพง โดยเคลมว่าเป็นเพชรธรรมชาติ เพราะไม่สามารถแยกแยะได้ด้วยตาเปล่า
เพราะฉะนั้นจึงแนะนำให้คุณซื้อเพชรกับร้านที่มีจรรยาบรรณ
ข้อดีของเพชรแล็บ
มีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกับเพชรแท้เกินกว่า 99% รวมถึงการเล่นไฟในแบบเดียวกันกับเพชรธรรมชาติ
จึงสามารถใช้หลัก 4Cs ในการเมินคุณภาพเพชรได้ และยากต่อการแยกแยะด้วยตาเปล่า
หากไม่มีเครื่องมือตรวจพิเศษอาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับเพชรธรรมชาติ
ในสเปคเดียวกัน เพราะมีราคาที่ย่อมเยากว่า 60-80 %
จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการใส่เพชรเม็ดใหญ่ในงบสบายกระเป๋า เช่น คุณอาจซื้อเพชรแล็บ 3 กะรัต
ได้ในงบประมาณใกล้เคียงกันกับเพชรธรรมชาติ 1 กะรัต
การปลูกเพชร Lab-grown เป็นสร้างจากห้องทดลอง จึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า
เพราะไม่ต้องมีการขุดเหมืองจึงเหมาะสำหรับผู้ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ
แต่ในอีกมุมหนึ่งก็มีข้อมูลที่ค้านว่ามันอาจไม่ได้รักษ์โลกขนาดนั้น
เพราะการสร้างเพชรในห้องแล็บจำเป็นต้องใช้พลังงานมหาศาลเช่นกัน
ข้อด้อย:
เนื่องจากเพชรแล็บสามารถผลิตออกมาได้เรื่อยๆ อย่างไม่มีจำกัด อีกทั้งยังมีแล็บที่สร้างขึ้นใหม่
จำนวนมากเข้ามาสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว
จึงอาจไม่เหมาะต่อการซื้อเพื่อลงทุนในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เพชรสังเคราะห์ไม่มีทางให้ได้แบบเพชรแท้ ก็คือมูลค่าในตัวเอง
โดยเพชรสังเคราะห์ไม่สามารถขาย หรือจำนำในลักษณะของการลงทุนได้
แถมยังมีมูลค่าลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เพราะมันสามารถผลิตเพิ่มได้ไม่จำกัดต่างจากเพชรธรรมชาติ
ที่นับวันยิ่งหาได้น้อยลงแถมยังมีมูลค่าเพิ่ม ตามความต้องการของตลาดด้วย
ดังนั้น หากใครที่ชื่นชอบเพชรในแง่ของความสวยงามและไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าในอนาคต
เพชรสังเคราะห์ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ แต่หากมองเพชรเป็นการลงทุนสำหรับในอนาคต
แน่นอนว่า เพชรธรรมชาติ ก็จะสามารถตอบโจทย์ได้ดีกว่า
ดังนั้น เพชรสังเคราะห์ และเพชรธรรมชาติ
จึงไม่ได้เกิดมาเพื่อทดแทนกันและกัน
เพียงแต่เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค
ที่มีความชอบและจุดประสงค์ที่ต่างกันนั่นเอง..
ทั้งนี้ DDG JEWELRY ขอยึดมั่นและขอย้ำในจุดยืนว่า
เราเลือกใช้เฉพาะเพชรแท้จากธรรมชาติเท่านั้น
และจะคอยให้คำแนะนำอย่างจริงใจกับลูกค้าของเรา
เพื่อให้คุณได้ลงทุนในเพชรธรรมชาติที่มีคุณภาพ
ขอบคุณครอบครัวคนรักเพชรค่ะ